กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ ที่ซับซ้อนและน่าค้นหาไม่แพ้มนุษย์
กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ (animal anatomy) เป็นวิชาทางชีววิทยาแขนวงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับขนาด, รูปร่าง, โครงสร้าง ตลอดจนหน้าที่และการทำงานของเซลล์ หรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์ ซึ่งการศึกษาเหล่านี้จะให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะปกติของโครงสร้าง รูปร่าง และลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ เพื่อให้เราทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น และดำเนินการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับวิชาที่เกี่ยวข้องอีกหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น สัตวศาสตร์, สัตววิทยา, สัตวแพทยศาสตร์ เป็นต้น
กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ 9 ประเภทที่ทุกคนควรรู้จัก
การศึกษากายวิภาคของสัตว์ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท หรือ 9 แขนงวิชาใหญ่ ได้แก่
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเฉพาะเจาะจง: เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่เฉพาะเจาะจงในร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด เช่น โครงสร้างกล้ามเนื้อ, โครงสร้างกระดูก, ระบบขับถ่าย, ระบบประสาทและสมอง, ระบบฮอร์โมนที่หลั่งจากต้อมไร้ท่อ เป็นต้น
จุลกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา: เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ในร่ายการสัตว์ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เซลล์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยเป็นการศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์ เช่น ลักษณะการทำงานของเซลล์และเยื้อหุ้มเซลล์, การแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลล์, การดูดซึมสารอาหารของเซลล์ เป็นต้น
มหกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา: เป็นการศึกษษลักษณะโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์ โดยใช้เครื่องมือเป็นตัวช่วย เช่น มีด, กรรไกผ่าตัด, เลื่อย ฯลฯ เพื่อชำแหละหรือแยกส่วนต่าง ๆ จากนั้นจึงทำการศึกษาด้วยตาเปล่า
คัพภะวิทยาและสรีรวิทยา: เป็นการศึกษาการเจริญเติบโต, การเปลี่ยนแปลง และการทำงานของเซลล์ หรืออวัยละในร่างกายสัตว์ ตั้งแต่ช่วงเป็นตัวอ่อน, ระยะก่อนคลอด ระยะหลังหลังคลอด ไปจนถึงระยะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเปรียบเทียบ: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้าง และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในสัตว์แต่ละชนิด เช่น การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและการทำงานของตับในวัวกับสุกร เป็นต้น
กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ และสรีวิทยาทางสัตวแพทย์: เป็นการศึกษาลักษณะโรงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์เพื่อใช้ในการดูแลรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาสัตวแพทยศาสตร์
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาตามบริเวณร่างกาย: เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ แบบจำกัดขอบเขตเฉพาะบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์ โดยแบ่งเป็น 4 บริเวณหลัก ได้แก่ หัว-คอ, อก-ขาหน้า, ท้อง และ อุ้งเชิงกราน-ขาหลัง
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาที่มีความสัมพันธ์กัน: เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะโครงสร้าง และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในทุกระบบที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นการศึกษาพื้นฐานของวิชาศัลยศาสตร์ โดยแบ่งส่วนที่ศึกษาเป็น 4 ส่วน ได้แก่ หัว, หน้า, ท้อง และขาหลัง
กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ และสรีรวิทยาตามระบบโครงสร้าง: เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานอวัยวะในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ, ระบบโครงกระดูก, ระบบหายใจ เป็นต้น