การดูแล “เฟอเรท” ในเบื้องต้น
สำหรับคนที่อยากเลี้ยงสัตว์แสนน่ารัก อย่าง “เฟอเรท” คาดว่าน่าจะเจอปัญหาคล้ายๆกัน เนื่องจากสัตว์ชนิดดังกล่าวยังไม่ค่อยกลายเป็นที่นิยมเลี้ยงมากเท่าไหร่นักภายในเมืองไทย หลายคนจึงไม่ทราบว่าจะดูแลเฟอเรทอย่างไรให้อยู่รอดปลอดภัยไปจนสิ้นอายุขัย แน่นอนว่าเฟอเรทเป็นสัตว์อีกชนิดที่ร่างกายค่อนข้างบอบบางมากทีเดียว จึงจำเป็นต้องคอยให้ความดูแลใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งหากเฟอเรทมีอาการป่วยทางเจ้าของต้องรีบพาไปให้สัตวแพทย์คอยตรวจเช็คร่างกายอย่างรวดเร็วด้วย เพียงเท่านี้เฟอเรทก็จะอยู่กับเราไปจนครบอายุขัยของมัน โดยวันนี้ทางเรามีเทคนิคการดูแลเฟอเรทในเบื้องต้นมาฝากกัน ดังต่อไปนี้
1.อาหารของเฟอเรท
หากมีความต้องการเลี้ยงสัตว์น่ารักๆ อย่าง เฟอเรท จะต้องคอยให้อาหารมันอย่างเป็นประจำด้วย เพราะหากปล่อยให้หิวเป็นระยะเวลานาน อาจจะส่งผลให้สัตว์เกิดความเครียดและกระทบกับสุขภาพได้ สำหรับเฟอเรทจัดว่าเป็นสัตว์ประเภทกินเนื้อ ในระยะเริ่มต้นสามารถใช้อาหารแมวเด็กเกรดคุณภาพได้ ไม่แนะนำให้ใช้อาหารแมวเด็กเกรดต่ำเป็นอันขาด เพราะอาหารเหล่านี้มีสารอาหารน้อยเกินไป ส่วนน้ำดื่มควรเลือกใช้แบบขวดจุกน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เฟอเรทเล่นน้ำ
2.ปัญหากลิ่นตัว
ต้องยอมรับเลยว่าหากมีความตั้งใจอยากเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลายคนจะต้องเจอกับปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นตัวอย่างแน่นอน เพราะเฟอเรทจัดว่าเป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวแรง เป็นผลมาจากต่อมไขมันซึ่งอยู่ใต้ผิวหนังทั่วทั้งตัว ยิ่งหากเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ต่อมไขมันจะทำงานหนักมากเป็นพิเศษ กระทั่งขนของเฟอเรทมีความมันเยิ้มเลยทีเดียว ดังนั้นจึงต้องพยายามทำความสะอาดร่างกายและกรงของเฟอเรทอย่างสม่ำเสมอ น่าจะมีส่วนช่วยดับกลิ่นตัวของเฟอเรทได้บ้างไม่มากก็น้อย
3.การป้องกันโรค
ตรงข้อนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเฟอเรทเป็นสัตว์อีกชนิดที่สามารถเป็นโรคไข้หัดได้ ซึ่งเป็นโรคที่สุนัขเป็นกันค่อนข้างเยอะ หากปล่อยให้เฟอเรทติดเชื้อโรคดังกล่าว นับว่ามีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะเสียชีวิต นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโรคพิษสุนัขบ้าด้วยเช่นเดียวกัน โดยทั้ง 2 โรคที่กล่าวมานี้ สามารถป้องกันได้หากเจ้าของนำเฟอเรทไปเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนรายละเอียดแนะนำให้ปรึกษากับสัตวแพทย์โดยตรง
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับการดูแลเฟอเรทในเบื้องต้น ค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะยากเกินกำลังของใครหลายคน เพียงแค่ปฏิบัติตามที่กล่าวมา น่าจะมีส่วนช่วยให้เฟอเรทอยู่เคียงข้างคุณได้อีกนาน แต่หากอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันโรคต่างๆของเฟอเรทมากกว่านี้ ต้องปรึกษากับสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเฟอเรทเข้าสู่กระบวนการป้องกันโรคอย่างถูกวิธีมากที่สุด