คางคกใช้อะไรหายใจ
เรียกได้ว่าถึงจะไม่หล่อแต่ก็ทำให้สาวกรี๊ดได้จริง ๆ นะคะ สำหรับคางคก อีกหนึ่งสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่เห็นแล้วต้องกรี๊ดจริง ๆ ค่ะ เพราะเขามักจะชอบโผล่มาเงียบ ๆ แอบอยู่ในซอกหลีบ ซอกมุมบ้าน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน และก็อย่างที่เราทราบกันค่ะ บริเวณผิวหนังของเขาก็ยังมีต่อมพิษอยู่ ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่สัมผัสกับพิษนั้นมีอาการต่าง ๆ ไม่พึงประสงค์ตามมาได้และอาจจะอันตรายจนถึงชีวิตได้อีกด้วยค่ะ แต่อย่าพึ่งรีบด่วนตัดสินใจมองเขาจากภายนอกเลยค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วถ้าหากว่าเราไม่ได้สัมผัสกับคางคกโดยตรง คางคกก็ไม่ใช่สัตว์ที่น่ากลัวแต่อย่างใดค่ะ วันนี้เราจะไปรู้จักคางคกกันให้มากขึ้นถึงลักษณะ การกิน การอยู่ รวมไปถึงคำถามยอดฮิตที่เด็ก ๆ หลายคนมักจะสงสัยอยู่เสมอ นั่นก็คือ คางคกใช้อะไรหายใจนั่นเองค่ะ
คางคกเป็นหนึ่งในสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำค่ะ แบ่งออกเป็น 37 สกุล และประมาณ 500 ชนิดเลยทีเดียวค่ะ แต่คางคกในประเทศไทยที่เราพบบ่อย ๆ ก็คือคางคกบ้านนั่นเองค่ะ โดยมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสัตว์ในประเภทเดียวกันคือ มีผิวหนังที่แห้งขระขระ มีต่อมพิษ อีกทั้งยังเป็นสัตว์ประเภทเดียวในวงศ์กบที่ไม่มีฟันค่ะ อาหารของคางคกก็มีมากมายค่ะทั้ง แมลงเม่า จิ้งหรีด ไส้เดือน ฯลฯ
ในส่วนของที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปคางคกจะอาศัยอยู่ตามขอนไม้ โพรงไม้ หรือที่อากาศชื้นตามบ้านเรือนค่ะ มาถึงคำตอบของคำถามที่ว่า คางคกใช้อะไรหายใจ ต้องบอกแบบนี้ค่ะว่าขึ้นอยู่กับช่วงวัยของเขา เพราะเมื่อตอนเป็นตัวอ่อนคางคกจะอาศัยอยู่ในน้ำโดยหายใจผ่านทางเหงือก ต่อมาเมื่อโตเต็มวัยจึงจะใช้ปอดในการหายใจแทนค่ะ พิษของคางคกจะอยู่ที่บริเวณเหนือตาค่ะ มีชื่อเรียกว่า ต่อมพาโรติค ทำหน้าที่เป็นต่อมสำหรับกักเก็บพิษและปล่อยพิษออกมา โดยลักษณะของพิษจะเป็นเมือกสีขาวค่ะ หรือที่เราเรียกกันว่า ยางคางคก นั่นเองค่ะ
พิษของคางคกค่อนข้างร้ายแรงและส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ค่ะ ประกอบด้วยสารต่าง ๆ มากมายทั้ง สารบูโฟท็อกซิน ที่มีส่งต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจเกิดการบีบตัว นอกจากต่อมพิษบริเวณเหนือตาแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของคางคกก็ยังมีพิษอีกด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง, เลือด, เครื่องในและไข่หากนำคางคกไปรับประทานเมื่อร่างกายของมนุษย์ได้รับพิษเข้าไปแล้วนั้นอาจส่งผลให้เกิดอาการแขนขาอ่อนแรงอาเจียนอ่อนเพลียหรือในเคสหนักๆอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุดค่ะแต่ก็ไม่ใช่ว่าคางคกจะมีแต่โทษนะคะเพราะยางพิษจากคางคกสามารถนำมาทำเป็นยาชาใช้ทาแผลอักเสบที่เป็นหนองและอื่นๆอีกมากมายค่ะ
เราก็ได้รู้จักเกี่ยวกับคางคกกันไปแล้วนะคะทั้งลักษณะการกินการอยู่รวมไปถึงการตอบคำถามสำคัญที่ว่าคางคกใช้อะไรหายใจ จะเห็นได้ว่าการปล่อยพิษของคางคกนั้นใช้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้นค่ะ แท้จริงแล้วคางคกอาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่พวกเราคิดก็ได้นะคะ ดังนั้นถ้าหากว่าไม่อยากสัมผัสพิษของคางคกก็เพียงแค่เลี่ยงการสัมผัสเขาเท่านั้นเองค่ะ