ตะพาบม่านลาย (Chitra chitra)
ตะพาบม่านลายหลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักเพราะตะพาบม่านลายเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ในน้ำมากกว่าบนพื้นดินตะพาบม่านลายเป็นสัตว์ที่ชื่นชอบการอยู่ในน้ำมากน้อยครั้งมากที่จะพบเห็นว่าอยู่บนพื้นดินเพราะตะพาบม่านลายจะออกมาบนพื้นดินก็ต่อเมื่อต้องการที่จะวางไข่เท่านั้นตะพาบม่านลายเป็นสัตว์ที่มีนิสัยรักสงบจึงชอบที่จะอยู่ใต้น้ำซึ่งต่างจากเต่าที่พบในไทยที่มีลักษณะชอบขึ้นมาบนบก จึงจะพบเห็นเต่าที่พบในไทยได้มากกว่าตะพายม่านลาย เต่าที่พบในไทยจะเป็นเต่าที่สามารถอยู่ได้บนบกและในน้ำได้ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมอยู่บนบกมากกว่าการอยู่ในน้ำเหมือนตะพาบม่านลาย
ตะพาบม่านลายจะมีรูปร่างที่ใหญ่มากซึ่งเป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกหัวและตามีขนาดเล็กเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดกระดองที่ยาวและใหญ่ได้ถึงหนึ่งเมตรเศษต้องยอมรับเลยว่าตะพาบม่านลายเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากๆชนิดหนึ่งในสัตว์น้ำเลยก็ว่าได้น้ำหนักของตะพาบม่านลายมีน้ำหนักประมาณ 120-200 กิโลกรัม กระดองของตะพาบม่านลายจะเป็นกระดองแบบแบนเรียบจะมีสีครีมหรือสีเนื้อ
นอกจากนี้จุดดเด่นของตะพาบม่านลายอยู่ตรงที่ ตะพาบม่านลายจะมีลายสีน้ำตาลซึ่งเป็นลายที่สวยงามมาก ขนาดของตะพาบม่านลายจะมีลักษณะแตกต่างออกไปในแต่ละช่วงวัย หัวของตะพาบม่านลายจะมีขนาดที่เล็กมาก ๆ และเท้าของตะพาบม่านลายจะเป็นแผ่นพังผืด มีเล็บที่ใหญ่และแข็งแรง นอกจากนี้ตะพาบม่านลายยังเป็นสัตว์ที่มีกรามที่แข็งแรงมาก กรามของตะพาบม่านลายใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น กบและเขียด จะเป็นอาหารที่ตะพาบม่านลายชอบมาก
ตะพาบม่านลายเป็นสัตว์ที่ชอบซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นทะเลทรายที่มีน้ำไหลผ่านเพราะการที่ตะพาบม่านลายซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นทะเลทรายเป็นการดักสัตว์น้ำที่ไหลผ่านมาตามน้ำเพื่อจับกินเป็นอาหารประจำวันตะพาบม่านลายจะขึ้นมาบนบกเพื่อที่จะขุดหลุมไว้วางไข่บนหาดทรายริมแม่น้ำซึ่งการวางไข่บนริมแม่น้ำก็จะมีลักษณะที่คล้ายเต่าน้ำคือขุดหลุมแล้วนำไข่ไปไว้ในหลุมแล้วกลับลงสู่แม่น้ำต่อ
ซึ่งตะพาบม่านลายจะออกไข่ครั้งละประมาณ 60-100 ฟอง ใช้เวลาฟังไข่ให้เป็นตัวนานถึง 65 วัน ตะพาบม่านลายเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากธรรมชาติมากขึ้น เพราะด้วยลวดลายที่สวยงามของตะพาบม่านลายจึงเป็นภัยให้กับตัวเอง เพราะคนนิยมจับตะพาบม่านลายเพื่อจับมาเป็นสัตว์เลี้ยง ด้วยเหตุนี้จะพาบม่านลายจึงเป็นสัตว์ที่พบได้ยากมาในปัจจุบัน
# ปลาโบราณ แห่งยุคจักรดพรรดิ “ปลาอะโรวาน่า”