ตะพาบสวน (Amyda cartiliaginea)
ตะพาบสวน หรือที่ทุกคนรู้จักว่าเป็นตะพาบไทย ซึ่งหลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าตะพาบสวนเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่เหมือนเต่าที่พบในไทย ซึ่งมีข้อแตกต่างกันไม่มาก ตะพาบสวนหรือตะพาบไทยมีลักษณะสีกระดองสีเขียว ใต้ท้องสีขาว เมื่อยังเล็กกระดองมีสีเทาเข้มหรือเกือบดำ และมีจุดสีเหลืองเล็กๆ ประปรายทั้งกระดอง พบได้ในแหล่งน้ำลำคลอง ซึ่งไม่ต่างจากเต่าที่พบในไทย แต่เต่าที่พบในไทยจะมีลักษณะที่แตกต่างกับตะพาบสวนหรือตะพาบไทยตั้งแต่หน้าตาของเต่าแล้ว
ตะพาบสวนจะมีลักษณะที่ปากและจมูกจะยื่นเป็นหลอด กระดองอ่อนนุ่มติดกับลำตัว กระดองส่วนบนมีปุ่มกลมเรียงเป็นแถวบริเวณขอบด้านหน้าของกระดอง บางครั้งพบจุดสีเหลืองจำนวนมากในตะพาบขนาดเล็ก กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 83 เซนติเมตร ซึ่งต่างจากเต่าที่มีกระดองที่แข็งมาก และที่สำคัญคนนิยมกินตะพาบสวนหรือตะพาบไทยมากกว่าเต่า ตะพาบสวนหรือตะพาบไทยจึงถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมงและถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกด้วย และประเทศที่นิยมกินตะพาบสวนหรือตะพาบไทยมากๆก็คือประเทศจีน
ตะพาบสวนหรือตะพาบไทย เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย อาหารที่ตะพาบสวนหรือตะพาบไทยกินก็คือ พืชและสัตว์ เช่น แมลง ปูกุ้ง หอยทาก หอยสองฝา ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซากผลไม้และเมล็ด ซึ่งอาหารการกินก็จะไม่ต่างจากเต่าสักเท่าไหร่ ตะพาบสวนหรือตะพาบไทยที่คนนิยมจับมากินกันเพราะมีความเชื่อว่า เป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย และคนจีนยังนิยมนำมาทำเป็นยาจีนทั้งเนื้อและกระดองของตะพาบสวนหรือตะพาบไทย จึงเป็นที่นิยมมากกว่าเต่า เพราะทั้งรสชาติและเนื้อที่มีความนุ่มมากกว่าเต่า การเลี้ยงดูตะพาบสวนหรือตะพาบไทยบางคนอาจนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามอยู่ในตู้ปลา ด้วยลวดลายที่สวยงามกว่าเต่า ตะพาบสวนและตะพาบไทยจึงเป็นที่นิยมในการเลี้ยงมากกว่า
ถ้าหากมีคนสนใจที่จะเลี้ยงตะพาบสวนหรือตะพาบไทยก็สามารถเลี้ยงได้แนะนำเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ไม่นิยมให้ทานเพราะตะพาบสวนหรือตะพาบไทยเคยเกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว ก่อนที่จะได้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง เพราะเมื่อก่อนมีการจับตะพาบสวนหรือตะพาบไทยที่อยู่ตามแม่น้ำลำคลองขึ้นมากินจนเป็นที่นิยมของเหล่าชาวบ้าน จึงทำให้ตะพาบสวนหรือตะพาบไทยเริ่มที่จะหาได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ จนเกือบสูญพันธุ์ไปแล้วครั้งหนึ่ง จึงแนะนำว่าเลี้ยงเพื่อความสวยงามเพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำให้คงอยู่ต่อไปในโลกนี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักสืบต่อกัน