ตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii)
ตะพาบหัวกบเป็นตะพาบอีกชนิดหนึ่งที่หลายคนคงเคยเห็นและเคยรู้จักเพราะเป็นตะพาบที่พบเห็นได้ง่ายและมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งใหญ่พอๆกับเต่าที่พบในไทยที่มีขนาดโตเต็มวัยแล้ว ตะพาบหัวกบมีขนาดที่ใหญ่เกือบเทียบเท่าตะพาบม่านลายและเต่าที่พบในไทย ซึ่งเต่าที่พบในไทยก็ยังสามารถเป็นที่พบเห็นได้มากกว่าตะพาบหัวกบ
ตะพาบหัวกบเป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่มีความดุร้ายมากๆ ต่างจากตะพาบชนิดอื่นที่ไม่ค่อยดุร้าย เช่น ตะพาบแก้มแดง ตะพาบม่านลาย หรือตะพาบม่านลายพม่า ซึ่งตะพาบเหล่านี้จะไม่มีความดุร้ายเลย ซึ่งลักษณะของตะพาบหัวกบแทบจะไม่แตกต่างจากตะพาบชนิดอื่นเลย ตะพาบหัวกบจัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่มากและเคยมีการค้นพบตะพาบหัวกบที่ขนาดใหญ่ที่สุดพบว่าตะพาบหัวกบมีขนาดกระดองที่ยาวถึง 120 เซนติเมตร และน้ำหนักมากสุด 50 กิโลกรัม ซึ่งเป็นตะพาบที่ใหญ่ที่สุดในสกุลของตะพาบหัวกบ
ลักษณะของตะพาบหัวกบจะมีลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวจะมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกับกบหรืออึ่งอ่าง ซึ่งด้วยลักณะของหน้าที่มีความคล้ายกับกบหรืออึ่งอ่างมาก จึงเป็นที่มาของชื่อตะพาบหัวกบ ตะพาบหัวกบเมื่อตอนยังเล็กจะมีกระดองสีน้ำตาลปนสีเขียวอ่อนๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วตัว เมื่อตะพาบหัวกบมีการเจริญเติบโตขึ้นสีเหลืองที่กระจายอยู่ทั่วตัวจะมีสีที่เข้มขึ้น ตะพาบหัวกบสามารถพบได้ทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันนี้ตะพาบหัวกบเป็นสัตว์ที่หาได้ยากอีกชนิดหนึ่งของตะพาบ ซึ่งมีจำนวนน้อยลงจนไม่สามารถพบเห็นได้อีก
ปัจจุบันตะพาบหัวกบถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมงเพราะเป็นสัตว์ที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันหาไม่พบแล้วตามแหล่งแม่น้ำโขง หรือในแม่น้ำสายใหญ่ อาหารการกินของตะพาบหัวกบก็คือ กุ้ง หอย อาหารทะเลที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งตะพาบหัวกบมีการหาอาหารที่ไม่ต่างจากตะพาบม่านลายมากนัก เพราะตะพาบหัวกบจะทำการซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นน้ำเพื่อรอให้เหยื่อเข้ามาติดกลับและจับกิน ซึ่งส่วนใหญ่ตะพาบหัวกบจะไม่ค่อยขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำสักเท่าไหร่ ในระยะเวลา 1 วัน ตะพาบหัวกบจะขึ้นมาหายใจที่บริเวณผิวน้ำประมาณวันละ 2-3 ครั้ง ปัจจุบันตะพาบหัวกบได้ทำการวิจัยและตะพาบหัวกบสามารถขยายพันธุ์ได้แล้ว และเป็นที่นิยมในการเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านของใครหลายคนที่มีความชื่นชอบในสัตว์เลี้ยงชนิดนี้