ปลากัดมีพันธุ์อะไรบ้าง
ปลากัดคือปลาชนิดหนึ่งที่เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณร่วมระยะเวลาก็ร้อยกว่าปีแล้วซึ่งคนไทยกับปลากัดนั้นผูกพันกันมากเพราะเกี่ยวกับของวิถีชีวิตไม่ว่าจะเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่นหรือแข่งขันเรียกว่ากีฬาปลากัดความสวยงามของหางแลพลำตัวทำให้ในปี 1871 ได้มีการนำปลากัดไปเพาะเลี้ยงครั้งแรกที่ทวีปยุโรป ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งความฮิตที่นู้นเรียกได้ว่าพุ่งกระจูด ชาวตะวันตกให้ความมสนใจเป็นอย่างมาก จนในปี 1893 คนไทยเริ่มจริงจังกับการเพาะพันธุ์ปลากัดส่งขายออกนอกประเทศ สามารถทำรายได้ได้มูลค่าไม่ต่ำกว่าล้านบาทไทยเลยทีเดียว
นิสัยใจคอของปลากัดไม่ได้สวยงามตามสีสันของลำตัวแต่ทว่าปลากัดนั้นค่อนข้างดุร้ายและมักนิยมเลี้ยงกันแบบเดี่ยวๆเพราะหากเลี้ยงพร้อมกันหลายๆตัวจะไล่กัดกันห้ามเลี้ยงใส่ขวดแก้วหรือโหลขนาดเล็กเด็ดขาดเพราะปลาจะเกิดความเครียดตรอมใจให้เลี้ยงให้โหลใหญ่เพื่อให้มันได้รู้สึกว่ามีอาณาเขตเป็นของตัวเองซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถพบเจอปลากัดได้ทั่วไปในประเทศไทยตามหนองบึงพบมากที่บริเวณลุ่มแม่น้ำกลองเจ้าพระยาแต่ในปัจจุบันถูกจัดไว้เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ปลากัดจึงได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติเพราะมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมมากมายสื่อให้เห็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างชัดเจน พันธุ์ปลากัดมีมากมายหลายชนิด ซึ่งพันธุ์ปลากัดจะสอดคล้องกับขนาดและสีตัวอย่างเช่น
- ปลากัดจีน หนึ่งในพันธุ์ปลากัดที่คนเลี้ยงเยอะมากที่สุดขายได้ราคามากในชาวจีนซึ่งครีบยาวหางกรุงกรายโคนห่าง
- ปลากัดฮาล์ฟมูน ปลากันชนิดนี้ถูกพัฒนาโดยชาวยุโรปให้มีลักษณะที่สวยงามขึ้นกว่าเดิม โดยขอบหางจะเรียบ ก้านจะยาวออกมาคล้านพระจันทร์ครึ่งเสี่ยว
- ปลากัดหม้อ ปลากัดที่ดูแข็งแรง กำยำ มีสีดำคล้ำ
- ปลากัดหูข้าง ปลากัดที่ครีบหูมีขนาดใหญ่
- ปลากัดยักษ์ พันธุ์นี้ถูกพัฒนาโดยชาวไทย โดยทำให้ขนาดตัวปกติใหญ่ขึ้น 2 เท่า ซึ่งเมื่อเราพิจารณาเรื่องรายได้ เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าพันธุ์อื่น ๆ เลย เพราะหายาก และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพาะพันธุ์เท่านั้น
- ปลากัดดับเบิลเทล สายพันธุ์ที่มีหางสองแฉกในหางเดียว เป็นเอกลักษณ์มาก ซึ่งจะแบ่งเป็นหางบนและหางล่าง หางล่างจะมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ
- ปลากัดคราวน์เทล สายพันธุ์นี้ถูกส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซียและถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้สวยงามขึ้นโดยชาวอินโดนีเซีย ครีบและหางจะมีลักษณะคล้ายกับขอบจักร ริ้วสวย เว้าลึก คล้ายกับมงกุฎ