ปลิงทะเล สัตว์เศรษฐกิจและความพยายามของเกษตรกร
ปัจจุบันเกษตรกรไทยพยายามที่เพาะเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดเพื่อผลักดันขึ้นมาให้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศ โดยส่วนใหญ่สัตว์ที่จะเริ่มคิดนำมาเพาะพันธุ์มักเป็นสัตว์ที่เริ่มหายากจากทางแหล่งน้ำธรรมชาติ และยังมีผู้บริโภคต้องการอยู่ตลอดเวลา ทั้งเพื่อหนึ่งเพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์ตามแหล่งน้ำทางธรรมชาติ และสองเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เพิ่มทางเลือกในการมองหาสัตว์ชนิดใหม่ๆมาเลี้ยงอีกทั้งยังมีตลาดรองรับและยังใช้ประโยชน์ที่มีจากลักษณะภูมิประเทศแบบเฉพาะตัว
ปลิงทะเลเป็นสัตว์น้ำอีกหนึ่งชนิดที่ปัจจุบันมีการทดลองเพาะพันธุ์ได้สำเร็จเนื่องจากสามารถหาจับในแหล่งตามธรรมชาติได้น้อยลงทุกทีและเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบมากในแถบจังหวัดตรังกระบี่สตูลหรือทางจังหวัดภาคใต้ที่มีทะเลของประเทศไทยดังนั้นปลิงทะเลจึงถือเป็นสัตว์เศรษกิจที่ต้องอาศัยลักษณะภูมิประเทศรวมถึงสภาพแวดล้อมแบบเฉพาะตัวในการเลี้ยงดูสัตว์ชนิดนี้
ปลิงทะเลสายพันธุ์ปัจจุบันที่ผู้คนเริ่มสนใจ และพยายามเพาะเลี้ยง คือปลิงทะเลขาว หรือ ชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันทั่วไปคือ “ปลิงขาว” ถือเป็นสัตว์ทะเลอีกหนึ่งชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดในระดับโลกโดยสามารถจำหน่ายได้ทั้งแบบสดปลิงทะเลอบแห้งนอกจากจะสามารถทำอาหารได้แล้วหลายๆประเทศยังมีความเชื่อว่าปลิงทะเลมีสรรพคุณทางยาอายุวัฒนะเช่นเดียวกับหอยเป๋าหื้อหูฉลามและกระเพาะปลา
ในส่วนของคุณค่าทางอาหารเองนั้น ปลิงทะเลก็ไม่ได้มีเพียงแค่ความเชื่อเท่านั้น แต่ปลิงทะเลเองยังอุดมไปด้วยสารอาหารไม่ว่าจะเป็นคอลลาเจน หรือโปรตีน ทั้งสรรพคุณและคุณค่าทางอาหารเหล่านี้ ส่งผลให้มีความต้องการทางตลาดที่มีแนวโน้วมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลับกันปลิงขาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางธรรมชาติในท้องทะเลกลับลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้จึงมีการเริ่มที่จะเพาะพันธุ์สัตว์ชนิดนี้ขึ้นมา และส่งเสริมผลักดันให้ ปลิงทะเลชนิดนี้ยกระดับขึ้นมาเป็น สัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกชนิดใหม่ของเกษตรกรไทย ในภาคใต้
ปัจจุบันมีหลากหลายหน่วยงานทางภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชนและกลุ่มชาวบ้าน ต่างก็ร่วมมือกันในการพยายามที่เพาะพันธุ์ปลิงทะเลให้สำเร็จ โดยการจำลองสภาพแวดล้อม รบบนิเวศน์ตลอดจนระบบน้ำขึ้นน้ำลงเพื่อให้ปลิงอยู่อาศัยและขยายพันธ์โดยปลิงหนึ่งตัวสามารถให้ไข่ได้มากถึงแสนฟองต่อหนึ่งครั้งแต่ปัจจุบันมีอัตราการรอดของไข่ที่ฟักออกมาไม่มากนักซึ่งต้องอยู่ในขั้นตอนที่ต้องพยายามกันต่อไปอย่างไรก็ตามเพียงแค่ได้ลูกปลิงเกิดใหม่ก็สามารถเริ่มนำออกขายให้เกษตรกรคนอื่นๆที่สนใจเลี้ยงซื้อไปเพาะเลี้ยงต่อไปแม้ในปัจจุบันอัตราการรอดชีวิตของปลิงทะเลอนุบาลจะยังไม่สูงมากแต่ก็นับว่าสันญาณที่ดีขึ้นเนื่องจากชาวบ้านเริ่มหันมาเพาะพันธ์อย่างจริงจังสามารถเริ่มส่งขายปลิงที่เลี้ยงจากฟาร์มได้เป็นจำนวนที่มากขึ้น
โดยลดจำนนวนการจับจากแหล่งน้ำธรรมลง ปัจจุบันแนวโน้มความต้องการ ปลิงทะเลของตลาดยังดูที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ นับว่าเป็นโจทย์ที่เกษตรกรไทยต้องพยายามกันต่อไปกับการเพิ่มจำนวนสัตว์ชนิดนี้ ซึ่งถ้าหากทำได้ ก็เท่ากับการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อีกทั้งยังรบกวนธรรมชาติน้อยลง ทั้งนี้ในภาคเกษตรกร กับเอกชนก็ได้ประโยชน์จากการสร้างอาชีพ ขณะที่ทางภาครัฐก็สามารถเพาะพันธ์เพื่อปล่อยกลับสู่ทะเล เป็นการเพิ่มจำนวนปลิงทะเลให้กับแหล่งน้ำในธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ถือเป็นการร่วมมือกันสร้างอนาคตที่ดี ให้กับทั้งเกษตรกรและระบบนิเวศน์ของท้องทะเลไทย