
พันธุ์โคเนื้อ 10 ชนิด บทที่ 2
ในปัจจุบันตอนนี้คนส่วนใหญ่ได้หันมาทำพืชทำไร่และการเลี้ยงปลาเลี้ยงวัวเลี้ยงควายรวมไปถึงการศึกษาที่เป็นการเน้นไปทางเกษตรกรรมโดยตรงเพราะเนื่องจากปัจจุบันมีหลายคนที่ถูกว่างงานจึงต้องเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดกันซะส่วนใหญ่จึงทำให้มีจำนวนคนที่อยากจะทำงานในด้านนี้กันเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับการเลี้ยงโค(หรือวัว) เพราะเป็นอีกหนึ่งเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยมาอย่างต่อนื่อง จึงทำให้มีผู้คนที่จะลองหันมาทำเศรษฐกิจในด้านเกษตรกรรมนี้ มาทดลองและหัดเลี้ยงพันธุ์โควัวกันเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน และสำหรับพันธุ์โคเนื้อทั้ง 10 ชนิด ที่มีผู้คนนำมาเลี้ยง ดูแลเพาะพันธุ์ ก็จะมีลักษณะและต้นถิ่นกำเนิดที่มาของแต่ละสายพันธุ์ดังนี้
- โคตาก : มาจากภาคกลางจังหวัดตาก เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง 3 สายพันธุ์ มีขนาดที่ไม่ใหญ่และเล็กมากนัก มีลำตัวที่เนสีน้ำตาลอ่อน ทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี น้ำหนักจะอยู่ที่ 600 – 1,000 กิโลกรัม
- โคพันธุ์กบินทร์บุรี : มาจากจังหวัดปราจีนบุรี ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์อีกเช่นกัน มีลำตัวที่เป็นสีแดงเข้ม มีการเจริญเติบโตที่เร็ว น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 600 – 1,000 กิโลกรัม
- โคพันธุ์ทาจิมะ : มาจากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นต้นกำเนิด โดยเป็นการเกิดจากการข้ามสายพันธุ์ มีลำตัวที่เล็ก มีขนหยักลอนสีดำ มีจุดขาวบริเวณที่เต้านมและส่วนท้ายของลำตัว น้ำหนักจะอยู่ที่ปริมาณ 900 กิโลกรัม ข้อเส้นเอ็นแข็งแรง ขาหลังและลำคอบาง มักจะถูกนิยมนำไปทำเป็นเนื้อในการบริโภค
- โคฮินดูบราซิล : เป็นโควัวที่มีเชื้อสายมาจากประเทศอิเดียและบราซิล เป็นโคที่มีขนาดใหญ่ลำตัวสูง น้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 900 -1,200 กิโลกรัม มีหน้าผากโหนกกว้างค่อนข้างยาว มีเขาที่เอนไปทางด้านหลัง แต่มีกล้ามเนื้อที่น้อย
- โคอเมริกันบราห์มัน : เป็นโควัวที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอเมริกา เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ทั้ง 3 ชนิด มีลำตัวที่ไม่โตและไม่ใหญ่จนเกินไป มีเขาขึ้นชันและมีงุ้มตระโหนกทั้งสองเพศ น้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 800 -1,200 กิโลกรัม คอสั้น อกกว้าง จะมีอยู่สองสีคือสีขาวและสีเทา สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนได้เป็นอย่างดี