รู้จัก 6 เรื่องจริงเกี่ยวกับ พะยูน ที่หลายคนไม่เคยรู้
พะยูน (dugong) ถือเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน และถึงแม้มันจะเป็นสัตว์ที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในทะเลของประเทศไทย แต่เชื่อว่าน้อยคนที่จะเคยมีโอกาสได้เห็นมันตัวเป็น ๆ เนื่องจากพวกมันมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ทั้งจากการถูกล่าโดยฝีมือมนุษย์ รวมถึงการถูกล่าโดยสัตว์นักล่าตามธรรมชาติ วันนี้เราจึงมี 6 เรื่องจริงเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ที่หลายคนยังไม่เคยรู้มาฝากกัน
6 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชีวิตของ พะยูน
1. พวกมันไม่ใช่ปลา: แม้จะอาศัยอยู่ในน้ำ แต่ พะยูน ก็ถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเล (เหมือนปลาวาฬ, ปลาโลมา) แถมพวกมันยังมีอายุยืนยาวไม่แพ้มนุษย์ (หาไม่ถูกล่าเสียก่อน) โดยพวกมันมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 70 ปี น้ำหนัก 200 – 300 กรัม ขนาดตัวประมาณ 2.5 – 3 เมตรเลยทีเดียว
2. พวกมันมีบรรพบุรุษใกล้กับ “ช้าง”: นักบรรพชีวินวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อราว 55 ล้านปีก่อน บรรพบุรุษของพะยูนที่มีความใกล้ชิดกับบรรพบุรุษของช้างได้มีวิวัฒนาการลงไปอยู่ในน้ำ และไม่กลับขึ้นมาบนบกอีก เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอย่างโลมาและวาฬนั่นเอง
3. พวกมันเป็นสัตว์สงวน: อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ “ไซเตส” (CITES) จัดให้สัตว์ชนิดนี้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ลำดับ 86 ถือเป็นสัตว์ที่ห้ามค้าขายโดยเด็ดขาดยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัยและเพาะพันธุ์เท่านั้น
4. พวกมันกินแต่หญ้าทะเล: พะยูน ถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเพียงชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหาร โดยพวกมันมักจะกินเฉพาะหญ้าทะเลตามบริเวณชายฝั่ง ซึ่งพวกมันจะออกมาหากินทั้งกลางวันและกลางคืน โดยเฉพาะช่วงน้ำขึ้น พวกมันจะรวมกลุ่มเข้าไปกินหญ้าทะเลตามชายฝั่ง
5. พวกมันเคยถูกเรียกว่า “นางเงือก” ย้อนกลับไปในยุคกลาง เหล่านักเดินเรือโบราณต่างจินตนาการว่าพวกมันเป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตครึ่งมนุษย์ครึ่งปลา เพราะเวลาที่แม่พะยูนให้นมลูก มักจะกอดลูกกับอกจนลำตัวตั้งฉากกับทะเล ทำให้คล้ายผู้หญิงให้นมลูก จึงเป็นที่มาของตำนานนางเงือกนั่นเอง แถมเนื้อ กระดูก และเขี้ยว ของพวกมันก็ยังถูกมองว่ามีคุณสมบัติในทางไสยศาสตร์ ทำให้พวกมันถูกมนุษย์ล่าอย่างหนักเพื่อเอาชิ้นส่วนขาย
6. พวกมันเหลืออยู่เพียงหลักหมื่น: ปัจจุบันมี พะยูน เหลืออยู่แค่หลักหมื่นตัวเท่านั้นในโลกโดยแหล่งถิ่นฐานใหญ่ของพวกมันคือชายฝั่งออสเตรเลียขณะที่ในประเทศไทยเหลือพวกมันเหลือเพียงแค่ไม่กี่ร้อยตัวเท่านั้น