วิธีการเลี้ยงดูแลผีเสื้อราตรี (ผีเสื้อกลางคืน)
ผีเสื้อกลางคืนหรือผีเสื้อราตรีเป็นอีกหนึ่งประเภทสัตว์ปีกที่เรียกได้ว่ามีความสวยงามและน่าหลงไหลอย่างมากมีนิสัยที่ชอบบินไปมาเกาะตามดอกไม้หรือต้นไม้ทำให้ใครหลายๆคนรู้สึกว่าเพลิดเพลินทุกครั้งที่ได้เห็นความสวยงามของผีเสื้อกลุ่มนี้อย่างที่ทราบว่าผีเสื้อในประเทศไทยบ้านเรามีหลากหลายชนิดหลายสายพันธุ์ซึ่ง
ในแต่ละชนิดนั้นก็จะมีลักษณะรูปร่างสีสันที่มีความแตกต่างกันออกไปและเพราะความสวยงามของสีสันลวดลายผีเสื้อกลางคืน (ผีเสื้อราตรี) นั้น ทำให้มีผู้คนสนใจที่อยากจะลองเลี้ยงผีเสื้อ และดูแลผีเสื้อกันเป็นจำนวนมากนั่นเอง เลยจะพาทุกคนไปรู้จักวงจรชีวิตของผีเสื้อและวิธีการเลี้ยงดูแล ว่าจะมีขั้นตอนการอย่างไรบ้าง ดังนั้นไปดูกันเลยดีกว่า!
สำหรับผีเสื้อกลางคืน (ผีเสื้อราตรี) เป็นสัตว์ปีกที่มีวัฏจักรในการเติบโตแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ ซึ่งนั่นก็คือ “ระยะไข่ ระยะตัวหนอน ระยะดักแด้ และระยะโตเต็มวัย” และกว่าจะมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แบบนั้น ก็ต้องผ่านวิธีการเลี้ยงและการดูแลอย่างเอาใจใส่ เพราะผีเสื้อเป็นสัตว์ปีกที่มีอายุสั้น ยิ่งเมื่อมีการเจริญเติบโตที่เต็มที่แล้ว บางสายพันธุ์อยู่ได้เพียง 1 สัปดาห์ และบางสายพันธุ์อยู่ได้ 1 ปี
ซึ่งสำหรับใครที่ต้องการอยากจะเลี้ยงผีเสื้อไว้เพื่อความสวยงามแล้วล่ะก็ ต้องมีการคำนวณปัจจัยต่างๆในการควบคุม ทั้งในเรื่องของสถานที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ งบประมาณ อุณหภูมิ ฤดูกาล ความชื้น พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ซึ่งอาจมองแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากจริงๆ สำหรับการจะดูแลผีเสื้อสัตว์อีกประเภทที่เป็นสิ่งมีชีวิต
ซึ่งวิธีการเลี้ยงดูแลผีเสื้อนั้นจะประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ที่ควรจะต้องทราบ
- หาสถานที่ที่เป็นธรรมชาติ มีพื้นที่กว้างขวางอุดมสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีแก่พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ในการหาพืชหาอาหารการกินนั่นเอง
- หลังจากที่ได้ไข่ผีเสื้อมาแล้ว ก็ต้องมาเลี้ยงในระยะตัวหนอนขั้นตอนต่อไป จะเป็นการเลี้ยงในกล่องพลาสติกใส ที่มีน้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย มีช่องว่างการระบายน้ำได้ดี
- เมื่อตัวหนอนเริ่มมีการเจริญเติบโตขึ้น ก็จะมาถึงระยะที่ 3 คือระยะดักแด้ให้หากรงตาข่ายที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและควรปิดให้หนาเพื่อป้องกันศัตรูจากตัวอื่นๆไม่ให้เข้าทำร้ายตัวดักแด้
- หากิ่งไม้หรือพืชมาให้เป็นอาหารของตัวหนอน ตัวดักแด้ เพื่อให้มีการเจริญเติบโตยิ่งขึ้น
- หมั่นดูแลทำความสะอาดบ่อยๆ พยายามเอามูลผีเสื้อไปทิ้งบ่อยๆแล้วทำความสะอาดตัวหนอน
- เมื่อเริ่มเติบโตขึ้นเขาจะห่อหุ้มตัวเองเป็นระยะเวลา 20 วัน ถึงจะเริ่มสู่เป็นผีเสื้อเต็มตัวนั่นเอง
- หลังจากนั้นค่อยนำไปปล่อยกลับสู่ธรรมชาติแบบเดิม