สัตว์จำพวกฟองน้ำที่อยู่ในท้องทะเล
หลายคนอาจยังไม่รู้จักสัตว์จำพวกฟองน้ำว่าเป็นสัตว์ชนิดไหนซึ่งฟองน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ร่ายกายของสัตว์ชนิดนี้จะเต็มไปด้วยรูและช่องทางสำหรับให้น้ำไหลเข้ามาซึ่งมีส่วนประกอบด้วยเมโซฮิลที่มีความคล้ายวุ้นและมีเซลล์บางๆที่ปกคลุมอยู่โครงสร้างภายในของสัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่มีรูเล็กๆอยู่ทั่วทั้งตัวซึ่งจะมีช่องทางน้ำไหลผ่านอยู่ตลอดเวลาซึ่งมีชื่อเรียกว่าออสเทียส่วนรูที่มีขนาดที่ใหญ่ในการไหลออกของน้ำจะเรียกว่าออสคูลัม
สัตว์จำพวกฟองน้ำจะมีผลังที่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อถึงสองชั้น ซึ่งหลายคนคงเคยเห็นสัตว์จำพวกนี้ที่มีสภาพที่ดูแข็ง นั้นคือเนื้อเยื่อชั้นนอกที่จะมีรูปร่างของเซลล์ที่แบนเรียงคลายกันเหมือนแผ่นกระเบื้อง ตรงส่วนนี้เรียกว่า เซลล์ปลอก ซึ่งจะช่วยในการโบกพัดให้น้ำสามารถเคลื่อนผ่านลำตัวได้มากกว่าเดิม และยังทำหน้าที่ในการหาอาหารอีกด้วย เพราะรูเหล่านี้จะช่วยดักจับสัตว์ชนิดเล็กที่ไหล่มาพร้อมกับน้ำ ส่วนเนื้อเยื่อชั้นที่สอง เนื้อเยื่อชั้นนี้จะเป็นชั้นกลางที่มีลักษณะที่คล้าย ๆ กับวุ้น ซึ่งจะอยู่ด้านในของเซลล์ปลอก ซึ่งก็เหมือนกับเซลล์ปลอกคือสิ่งที่ปกป้องเซลล์ชั้นกลางที่มีความบอบบางมากกว่า ซึ่งในส่วนที่เป็นวุ้นจะเรียกว่ามีโซฮิล จะเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์อื่นได้
การสืบพันธุ์ของสัตว์จำพวกฟองน้ำ จะมีทั้งแบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ตัวของฟองน้ำจะสร้างเซลล์อสุจิขึ้นมาและมีเซลล์ไข่จากอาร์คีโอไซต์ ซึ่งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเกิดขึ้นภายในตัวของฟองน้ำ เมื่อมีการปฏิสนธิกันก็จะทำเกิดฟองน้ำที่เจริญเติบโตจนเมื่อเป็นตัวอ่อน ก็จะทำการเคลื่อนตัวออกจากตัวแม่ เพื่อวายน้ำไปเกาะตามโขดหินต่าง ๆ จนทำให้เกิดการสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ต่อไป
ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนั้น จะเป็นการสืบพันธุ์ในรูปแบบของการแตกหน่อด้วยการสร้างเจมมูล ซึ่งหากว่าฟองน้ำชนิดนี้เจอกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็จะทำการผลิตเจมมูลขึ้นมา เจมมูลจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทนทานต่อสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ เมื่อเกิดการสร้างเจมมูลขึ้น ฟ้องน้ำตัวที่สร้างเจมมูลขึ้นมาก็จะตาย และจากเจมมูลที่มีสภาพที่แข็งแรงและทนทานได้มากกว่าจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ถึงแม้ว่าฟองน้ำตัวแม่จะตายไปแล้วก็ตาม เมื่อเจอสภาพอากาศที่เหมาะสมเจมมูลก็จะเกิดการรวมตัวกันอีกครั้งและกลายเป็นฟองน้ำต้นใหม่ขึ้นมา