เต่ากระอาน (Batagur baska)
เต่ากระอานเป็นเต่าที่พบในไทย ซึ่งเต่ากระอานจัดอยู่ในจำพวกสัตว์มีแกนสันหลัง เต่ากระอานเป็นสัตว์น้ำจืดหรืออยู่ในบริเวณน้ำกร่อยซึ่งเป็นเต่าที่พบในไทยได้ไม่ยาก ซึ่งเป็นเต่าที่พบในไทยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งกระดองของเต่ากระอานมีความยาวมากกว่า 60 เซนติเมตร ซึ่งมีการค้นพบเต่ากระอานล่าสุดที่จังหวัดพังงา พบบริเวณคลองถ้ำ เมื่อปีพ.ศ. 2550 และหลังจากนั้นก็ไม่มีการค้นพบเต่ากระอานอีกเลย
ซึ่งต้องยอมรับเลยว่าเต่ากระอานเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างวิกฤติมาก ซึ่งยุคปัจจุบันนี้ได้มีเต่าและตะพาบหลายชนิดที่เกือบสูญพันธุ์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการนำมาทำเป็นอาหารและนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์สวยงาม ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นการทำลายธรรมชาติของมนุษย์อย่างไม่รู้ตัว จึงส่งผลให้ตะพาบแต่ละสายพันธุ์มีจำนวนลดลงและซึ่งแทบไม่ต่างจากเต่ากระอานที่มีจำนวนลดลงจนเป็นสัตว์ที่หาพบได้ยากในประเทศไทย เพราะใกล้ที่จะสูญพันธุ์จากน้ำมือของเหล่ามนุษย์
ลักษณะของเต่ากระอาน เต่ากระอานจะมีลักษณะจมูกที่เชิดปลายปากแหลมยื่นยาวออกมาเป็นหลอดจมูกตาของเต่ากระอานจะเป็นสีขาวเท้าหน้าของเต่ากระอานจะแผ่และแบนมีพังผืดมีเล็บสี่เล็บขาของเต่ากระอานจะเป็นสีเทาหรือบางตัวก็จะเป็นสีดำรูปร่างของกระดองเป็นรูปไข่ซึ่งกระดองหลังมีลักษณะค่อนข้างเรียบและแบนสีของกระดองเต่ากระอานจะเป็นสีน้ำตาลออกเขียวซึ่งบางตัวอาจจะออกสีเทาอมเขียวใต้ท้องของเต่ากระอานเป็นสีขาวออกสีเหลืองนอกจากนี้เมื่อถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์เต่ากระอานตัวผู้จะมีการเปลี่ยนสีที่หัวลำคอและขาเป็นสีดำม่านตาของเต่ากระอานจากที่เคยเป็นสีออกสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีขาวสดใสเมื่อลูกของเต่ากระอานเกิดลูกของเต่ากระอานจะมีกระดองรูปร่างแบนและมนกลม
อาหารที่เต่ากระอานชื่นชอบมากที่สุดคือผลหรือฝักของพรรณไม้ที่อยู่ในป่าชายเลนและไม้น้ำทุกชนิดที่อยู่ในป่าชายเลนเช่นลำพูโกงกางจะเป็นอาหารหลักของเต่ากระอานเลยซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่กินง่ายมากๆเพราะอาหารที่เต่ากระอานกินเป็นของที่อยู่ตามธรรมชาติและไม่ต้องหากินเหมือนเต่าและตะพาบบางชนิดการวางไข่ของเต่ากระอานจะเป็นช่วงปลายปีตั้งแต่เดือนพ.ย.- ม.ค
โดยที่เต่ากระอานตัวเมียจะย้ายขึ้นไปยังตอนกลางหรือต้นลำคลอง เพื่อหาสันดอนทรายหรือหาดทรายที่ซึ่งไม่มีคนมารบกวนได้ เต่ากระอานตัวเมียจะขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร วางไข่ประมาณ 2-3 ครั้ง ซึ่งออกไข่ครั้งละประมาณ 20 ฟอง