เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis)
เต่า เต่าที่พบในไทยนั้นมีอยู่หลายชนิดทั้งที่เป็นเต่าบกเต่าน้ำซึ่งเต่าแต่ละชนิดก็มีลักษณะเฉพาะตัวเดี๋ยวนี้นั้นมีเทรนด์การเลี้ยงสัตว์แปลกเพิ่มมากขึ้นและหนึ่งในสัตว์ที่กลุ่มคนรักสัตว์แปลกนิยมเลี้ยงก็คือเต่านั่นเองซึ่งก็มีหลายชนิดที่นำมาเลี้ยงกันอย่างที่กำลังจะพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักในวันนี้นั่นคือเต่าดำหรือเต่ากาหรือเต่าแก้มขาวเต่าชนิดนี้มีความน่าสนใจอย่างไรมาดูกันค่ะ
- ลักษณะทั่วไปของเต่าดำ
เต่าดำ อีกชนิดของเต่าที่พบในไทย เป็นเต่าขนาดเล็ก มีความยาวประมาณครึ่งฟุต เต่าดำนั้นเป็นเต่าที่มีน้ำหนักไม่มากซึ่งจะหนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ลักษณะตัวแบน มีกระดองเป็นสีดำ สีหัวเป็นสีดำ หางและขาก็มีสีดำ แต่จะมีแต้มขาวที่บริเวณแก้ม เหนือตา และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง จนเป็นที่มาของอีกชื่อที่เรียกว่า เต่าแก้มขาวนั่นเอง สำหรับความยาวของกระดองด้านบนนั้นมีความยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร
- พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
หลาย ๆ ครั้งที่เจอตัวเต่าดำ จะมอมแมมสกปรก เต็มไปด้วยโคลน นั่นก็เพราะเต่าดำ กลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ และหากินตามพื้นดินโคลนใต้น้ำ พวกมันนั้นเป็นนักดำน้ำที่อึดมากเพราะนาน ๆ จึงโผล่ขึ้นมาสักครั้ง จะขึ้นบกมาเฉพาะเวลากลางคืน เต่าดำกินหอย กุ้ง ผัก รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและเมล็ดพืชเป็นอาหาร
- ถิ่นอาศัย
เต่าดำนั้นสามารถพบได้ในพื้นที่ของประเทศอินเดียอินโดจีนมาเลเซียฟิลิปปินส์สำหรับ เต่าที่พบในไทย จะพบเต่าดำกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทยพบมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้เต่าดำอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่ไหลช้าหรือแหล่งน้ำนิ่งบริเวณที่ราบต่ำเช่นบ่อน้ำลำคลองคูและหนองน้ำเต่าดำจะขึ้นบกเวลากลางคืนเพื่อหาทำเลวางไข่หรือผสมพันธุ์หรือย้ายที่ทำมาหากิน
- สถานภาพปัจจุบัน
เต่าดำหรือเต่าแก้มขาว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เต่าดำหรือเต่าแก้มขาว มีจำนวนที่ลดลงมาก และอยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญพันธุ์เนื่องจากการที่ถูกบุกลุก และรุกล้ำที่อยู่อาศัย รวมถึงถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง ปรุงยาสมุนไพรด้วยเชื่อว่าเป็นยาที่ใช้บำรุงสมรรถนะทางเพศ พวกมันจึงได้รับกฎหมายคุ้มครอง กําหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง พ.ศ.2546 เพื่อป้องกันไม่ให้เต่าดำหรือเต่าแก้มขาว ที่มีอยู่นั้นมีจำนวนลดลงไปจากที่มีอยู่เดิมจนกลายเป็นสูญพันธุ์ไปนั่นเอง