เต่านาอีสาน Malayemys subtrijuga
เต่านาอีสานเป็นเต่าที่พบในไทย ซึ่งเป็นสัตวที่ดำรงชีวิตอยู่ในนาเหมือนเต่านาหัวใหญ่ สมัยก่อนคนส่วนใหญ่ที่เจอเต่าที่พบในไทยชนิดนี้ จะคิดว่าเต่านาอีสานและเต่านาหัวใหญ่เป็นเต่าประเภทเดียวกันแบบเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเต่านาอีสานกับเต่านาหัวโตนั้นมีลักษณะแตกต่างกันทั้งทางกายวิภาคและถิ่นที่แพร่กระจายพันธุ์
ถึงแม้ทั้งสองชนิดเป็นเต่าที่พบในไทยก็ตาม ซึ่งเต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala) จะพบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานของประเทศไทย ส่วนเต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga) พบว่ากระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทยและลุ่มแม่น้ำโขง ถึงแม้ว่าภายนอกของเต่านาหัวใหญ่และเต่านาอีสานจะมีลักษณะที่คล้ายกันมากๆ แต่ก็มีแหล่งที่มาที่ต่างกันและยังมีกายวิภาคที่ต่างกันอีกด้วย ซึ่งหากใครไม่รู้จักเต่าสองชนิดนี้จะคิดว่าเป็นเต่าชนิดเดียวกัน เพราะมีความแตกต่างกันที่น้อยมากหากไม่สังเกตจะไม่สามารถแยกออกได้ว่า เต่าที่เจอนั้นเป็นเต่าชนิดไหน
เต่านาอีสานเป็นเต่าที่มีขนาดเล็กซึ่งลักษณะเด่นของเต่านาอีสานคือ กระดองส่วนบนมีสันนูน 3 เส้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากและมีขอบที่เรียบ ส่วนหัวของเต่านาอีสานจะมีขนาดใหญ่และมีลายเส้นสีเหลืองหรือสีขาว นอกจากนี้กระดองส่วนบนจะมีสีน้ำตาลและมีขอบสีครีมหรือสีเหลือง การดองของเต่านาอีสานส่วนล่างจะมีสีเหลืองและแต้มสีดำบนแผ่นเกล็ด
ซึ่งสีผิวของเต่านาอีสานจะเป็นสีผิวทั่วไปซึ่งเป็นสีน้ำตาลเท่าหรือสีดำ บริเวณส่วนหน้าและจมูกของเต่านาอีสานจะมีลายเส้นขีดสีขาว ซึ่งจะเห็นได้ว่าลักษณะของเต่านาอีสานและเต่านาหัวใหญ่จะมีลักษณะที่ดูคล้ายกันมาก มีส่วนต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และวิธีหากินของเต่านาอีสานและเต่านาหัวใหญ่ยังมีวิธีการหาอาหารและกินอาหารที่เหมือนกัน ซึ่งก็คือจะใช้ปากกัดหอยให้แตกและจึงนำเล็บเขี่ยหอยออกมากิน และยังสามารถกินสัตว์น้ำที่อยู่ในนาชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย ทั้งเต่านาหัวใหญ่และเต่านาอีสานมีวิธีชีวิตละมีวิธีจับสัตว์กินได้เหมือนกันมากๆ
เต่านาอีสานจะกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำของภูมิภาคอินโดจีนและแหลมมลายู ส่วนที่พบเห็นเต่านาอีสานในไทยสามารถพบได้ที่นาข้าว สวนสาธารณะและท้องร่องสวนผลไม้ ตามพื้นที่ทำการเกษตรทั่วไป ซึ่งสามารถพบในไทยได้เยอะมากในหลายพื้นที่ มีจำนวนที่เยอะพอ ๆ กับเต่านาหัวใหญ่ จึงเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ไม่ได้เป็นสัตว์คุ้มครองเหมือนเต่าชนิดอื่น