เต่าบัว Hieremys annandalei
เต่าบัวเป็นเต่าที่พบได้ในไทยอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว ซึ่งเป็นปกติที่ในยุคสมัยนี้เต่าที่พบในไทยมีจำนวนที่ลดลงและใกล้ที่จะสุญพันธุ์ เพราะเต่าที่พบในไทยส่วนใหญ่จะมีอายุที่ยาวนาน แต่ส่วนใหญ่มักจะโดนมนุษย์จับไปทำเป็นอาหาร เต่าบัวเป็นเต่าที่มีแหล่งอาศัยที่อยู่ในแหล่งน้ำ หนองน้ำ บ่อน้ำ และตามแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่มีน้ำไหลนิ่งและไหลช้า หรือน้ำนิ่งในบริเวณที่ราบและสามารถอยู่รอดในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อย
ซึ่งที่พบในไทยจะพบที่บริเวณที่ราบต่ำในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ นอกจากนี้ยังสามารถพบเต่าบัวได้ที่ลาวบริเวณที่ราบต่ำของแม่น้ำโขงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่ประเทศเวียดนามพบได้ในบริเวณที่ราบต่ำทางตอนใต้ และประเทศกัมพูชาในบริเวณที่ราบต่ำ เต่าบัวได้รับการดูแลตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ลักษณะของเต่าบัวในขณะที่เป็นลูกเต่า ลูกเต่าบัวจะมีกระดองหลังรูปร่างกลมสีเขียวเข้มและจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อโตเต็มที่กระดองที่ท้องของเต่าบัวจะเป็นสีเหลืองอ่อน ขาของเต่าบัวจะเป็นสีเทาดำบริเวณด้านหน้าและมีสีเทาอ่อนบริเวณด้านหลังจะเป็นสีขาว หัวของลูกเต่าจะมีสีเขียวอ่อนและมีเส้นแถบและมีจุดสีเหลือง ลักษณะของเต่าบัวที่ยังเป็นลูกเต่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและลักษณะของเต่าบัวเมื่อเริ่มโตจะแตกต่างจากเต่าบัวที่โตเต็มวัยมาก ซึ่งลักษณะของเต่าบัวที่เริ่มเปลี่ยนไปอาจทำให้ผู้พบเห็นคิดว่าเป็นเต่ายสายพันธุ์อื่น เพราะในขณะที่เต่าบัวยังไม่โตจะมีรูปร่างคล้ายกับใบบัว ด้วยลักษณะของเต่าบัวตอนยังเล็กจะมีรูปร่างคล้ายใบบัวจึงทำให้มีชื่อเรียกว่าเต่าบัว
เมื่อเต่าบัวโตเต็มวัยจะมีกระดองหน้าท้องที่มีความกว้างที่สุดบริเวณหน้าอกและมีความยาวใกล้เคียงกับกระดองหลัง ตอนที่เต่าบัวโตเต็มวัยจะมีหัวสีเหลืองคล้ำ คอและคางจะเป็นสีขาวเทา นอกจากนั้นจะมีแผ่นเกล็ดที่ต้นขาหน้า ค่อนข้างแคบ แต่จะมีแผ่นเกล็ดที่รักแร้และแผ่นเกล็ดที่ขาหนีบมีขนาดที่ใหญ่ ขาจะแข็งแรงมาก เท้ามีพังผืดหุ้มหนาถึงส่วนของเล็บ ซึ่งช่วยในการว่ายน้ำเพื่อสามารถอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เมื่ออยู่บนบกจะชอบอยู่ในที่ชื้นและมุมอับเป็นพิเศษ เช่น ตามโขดหิน ซึ่งเต่าบัวจะไม่ชอบในพื้นที่ที่มีแสงแดดเลย เต่าบัวสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารในการดำรงชีวิต