เต่าหก Manouria emys
เต่าหกเป็นเต่าที่พบในไทยอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเต่าหกเป็นเต่าบก เต่าหกเป็นเต่าที่พบในไทยที่พบว่าเป็นเต่าที่กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย นอกจากเป็นเต่าที่พบในไทยแล้ว ยังเป็นเต่าที่อยู่ทั้งเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เต่าหกจัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบเจอในทวีปเอเชีย
เต่าหกถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในปีพุทธศักราช 2535 และเต่าหกยังได้ความนิยมในการเป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่าการนำมาทำอาหาร อาจจะเพราะขนาดของเต่าหกที่มีขนาดที่ใหญ่มากจึงทำให้คนส่วนใหญ่เมื่อเจอเต่าหกเลือกที่จะเลี้ยงมากกว่าการจับไปทำอาหารเหมือนเต่าชนิดอื่นๆ ที่ใกล้สูญพันธุ์
เต่าหกเป็นเต่าบกก็จริง แต่เต่าชอบอยู่ในที่ที่มีความ ชอบอาศัยอยู่ในโคลนตมใกล้กับแหล่งน้ำ ชอบอยู่ในป่าดิบเขา โดยนิสัยส่วนตัวของเต่าหกจะชอบขุดหลุมแล้วฝังตัวเองอยู่ในดิน ทำให้ไม่ค่อยพบเต่าหกในที่ราบ นอกจากนี้เต่าหกยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อยนั้นก็คือ เต่าหกเหลือง (M. e. emts) เต่าหกเหลืองจะมีกระดองเป็นสีเหลือง
ด้านขอบของเต่าหกเหลืองจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน เดือยด้านข้างลำตัวของเต่าหกเหลืองจะมีลักษณะกลมกว่า ซึ่งพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย แหลมมลายู และเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย เต่าหกอีกชนิดหนึ่งคือ เต่าหกดำ (M.e. phayrei) เต่าหกดำจะมีกระดองสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ เต่าหกำจะเป็นเต่าที่สามารถพบได้ทั่วไป มีขนาดที่ใหญ่กว่าเต่าหกเหลือง ซึ่งเต่าหกดำนั้นได้จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก
ลักษณะของเต่าหกที่โตเต็มวัยแล้วจะมีกระดองยาวขนาด 2 ฟุต น้ำหนักของเต่าหกจะอยู่ที่ 30-40 กิโลกรัม กระดองของเต่าหกจะมีความโค้งสูงมาก ขาหน้าของเต่าหกด้านบนจะมีเกล็ดใหญ่ ๆ และไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ เต่าหกจะมีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยของเต่าหกจะมีกระดูกอยู่ข้างใน ไว้ใช้สำหรับยันพื้นดินเวลาที่เต่าหกปีนขึ้นที่สูงจึงทำให้ดูคล้ายว่ามีหกขา
เพราะลักษณะเฉพาะของเต่าหกที่มีเดือยยื่นออกมาจึงทำให้มีชื่อเรียกว่าเต่าหก เพราะมาจากการเห็นเป็นหกขา เต่าหกเป็นเต่าที่กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัง แต่ก็สามารถที่จะกินสัตว์ขนาดเล็กได้ เต่าหกเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 30-50 ฟอง ซึ่งเต่าหกเป็นเต่าบกที่มีการวางไข่ได้มากที่สุด นอกจากนี้วิธีฝังไข่ของเต่าหกจะแตกต่างจากเต่าชนิดอื่นตรงที่ เต่าหกจะกวาดใบไม้และวัสดุต่าง ๆ มาคลุมทับไข่ของตัวเองไว้ และเฝ้าไข่เป็นเวลาหลายวัน แทนการขุดหลุมฝังไข่เหมือนเต่าชนิดอื่น