เลี้ยงนกกระทาสร้างรายได้
อีกหนึ่งสัตว์ปีกที่เป็นตัวเลือกน่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหาอาชีพเริ่มต้นในการเป็นเกษตรการเลี้ยงสัตว์เนื่องจากนกกระทานั้นเป็นสัตว์ขนาดเล็กใช้ทุนในการเริ่มต้นไม่มากเท่ากับไก่และเป็ดอีกทั้งยังให้ไข่เป็นจำนวนมากและใช้ระยะเวลาไม่นานและยังสามารถเลี้ยงเพื่อหวังผลได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็นเลี้ยงเพื่อขายไข่การเลี้ยงเพื่อขายพ่อแม่พันธุ์การเพาะลูกนกส่งขายให้กับเกษตรกรเจ้าอื่นๆหรือแม้กระทั่งนกที่หมดไข่แล้วยังสามารถส่งออกขายเพื่อเป็นนกเนื้อได้อีกด้วย
ปัจจุบันมีเกษตรกรรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่สามารถเพาะพันธุ์นกกระทาาขายได้ประสบผลสำเร็จสร้างรายได้ที่มั่นคง จากอาชีพเสริมก็กลายมาเป็นอาชีพหลักเลี้ยงปากท้องของคนในครอบครัวได้ ทั้งนี้เกษตรกรหลายๆคนได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า ควรเริ่มจากการทำเป็นอาชีพเสริมในจำนวนที่ไม่มากก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศึกษานิสัยใจคอความเป็นอยู่และธรรมชาตินกเมื่อมีความรู้ความเข้าใจดีแล้วจึงค่อยเริ่มขยับขยายให้มีจำนวนมากขึ้น
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะสามารถพัฒนานกกระทาสายพันธุ์ได้มากมายแต่ก็ยังให้ไข่ดกสู้สายพันธ์จากญี่ปุ่นไม่ได้ทำให้ทุกวันนี้ฟาร์มนกระทาในประเทศไทยนิยมเลี้ยงสายพันธุ์จากญี่ปุ่นกันมากกว่าทั้งนี้การเลี้ยงนกกระทานั้นมีข้อดีมากมายตั้งแต่โรงเรือนที่ไม่ใช้พื้นที่มากนักหรือออกแบบพิเศษเพียงมีพื้นที่เพียงพอมิดชิดและอุณหภูมิที่เหมาะสมก็สามารถเลี้ยงได้นอกจากนี้ยังสามารถส่งขายได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะขายนกเนื้อหรือขายไข่นกก็ได้อีกทั้งนกกระมีความแข่งแรงอนทนต่อการเกิดโรคได้มากแค่ดูแลรักษาความสะอาดให้ดีก็แทบจะไม่มีโรคเกิดกับนกกระทานอกจากนี้ด้วยขนาดตัวที่เล็กทำให้ไม่สิ้นเปลืองในเรื่องของอาหารส่งผลต่อต้นทุนที่จะไม่สูงเกินไปจนกลายเป็นภาระของเกษตรกร
โรงเรือนและกรงสำหรับเลี้ยงนกกระทา
เนื่องจากนกชนิดนี้เป็นสัตว์ที่ขี้กลัว และไวต่อความรู้สึกจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้ง่าย โรงเรือนจึงควรมีขอบปิดมิดชิด แต่อากาศถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิไม่สูงเกินไป ทั้งนี้ทั้งนั้นควรหมั่นดูแลความสะอาดของโรงเรือนอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคเกิดขึ้นอันจะส่งผลให้นกกระทาเป็นโรคได้ ในส่วนของกรงนก ควรมีขนาดที่พอดีกับจำนวนนก ไม่ใส่ให้นกอยู่อัดแน่นจนเกินไป ทั้งนี้ขนาดและจำนวนนกควรแยกประเภทตามจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป อาทิ กรงสำหรับใส่พ่อแม่พันธุ์ ควรมีขนาดอย่างต่ำ 40 X 40 เซนติเมตร ในอัตรา แม่นก 5 ตัวและพ่อนก 2ตัว, กรงฟักไข่ควรแยกออกมาเป็นกรงที่มิดชิดขนาดเหมาะสมที่จะรองรับนกที่เกิดมา อีกทั้งยังต้องควบคุมอุณหภูมิได้ตลอดทั้งวัน,กรงอนุบาล กรงประเภทนี้ควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสม สามารถเลี้ยงรวมได้ 300 – 400 ตัวโดยขนาดพื้นที่ ไม่ต่ำกว่า 2 X 2 เมตร,ตลอดจนกรงเลี้ยงนกเอาไข่ทั่วไปควรมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 40X40 เซนติเมตร ต่อนก 6 – 7 ตัว
อาหาร
อาหารนกกระทานั้น สามารถใช้อาหารที่มีขายตามท้องตลอดได้ทั่วไป หรือจะผสมขึ้นมาเองก็ได้ โดยคำนึงถึงสารอาหาร และโปรตีนให้นกได้รับอย่าเพียงพอ ภาชนะใส่อาหาร ควรเป็นทรงแบนขอบไม่สูงนัก เพื่อให้นกก้มลงลงมากินได้สะดวก ส่วนน้ำนั้นจะให้โดยอุปกรณ์ให้น้ำอัตโนมัติที่เรียกว่าหัวจ่ายแบบ Nipple สามารถหรือใส่รางให้ไว้ด้านหน้ากรงก็ได้ โดยรางน้ำนี้ ต้องทำความสะอาดอย่างน้อย สองวันต่อหนึ่งครั้งเพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคสะสม ระยะเวลาในการให้อาหารควรให้อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยครั้งแรกในช่วงประมาณ 9 .00 น. และครั้งที่สอง เวลาประมาณ 14.00 น. หรือดูระยะห่างตามความเหมาะสม
การเก็บผลผลิต
นกกระทาจะเริ่มออกไข่ในช่วงอายุประมาณ 25 – 30 วัน โดยเฉลี่ยแล้วนก 7 ตัวจะให้ไข่ประมาณ 5 ฟอง ทั้งนี้ควรสังเกตดูให้ดีหากตัวไหนไม่ให้ไข่ติดต่อกันหลายวัน ควรจับแยกออกมาแล้วคัดนกตัวใหม่ใส่เข้าไปแทน นกกระทาจะให้ไข่ได้ดีที่สุด ในช่วงอายุ 30 – 150 วัน หลังจากนั้นจะลดจำนวนลงเรื่อยๆ ระยะเวลาที่ควรเก็บไข่ควรเริ่มเก็บช่วงเย็นของทุกวัน ทั้งนี้ ไข่สดมีอายุสูงสุดประมาณ 10 วันเท่านั้น ทั้งนี้ควรออกแบบกรงให้มีพื้นลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อให้ไข่ไหลมากองรวมกันด้านนอกกรงเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บไข่ในแต่ละครั้งและไม่รบกวนนกจนเกินไป
นกที่ไม่ไข่ นกตัวผู้ปลดระวางและนกที่หมดช่วงไข่แล้วสามารถนำมาเลี้ยงเปลี่ยนสูตรอาหารเพื่อเตรียมส่งขายเป็นนกเนื้อได้ทั้งนี้หากมีจำนวนนกที่เลี้ยงไว้มากกะช่วงเวลาในการเพาะพันธุ์ให้ดีก็จะสามารถมีนกสับเปลี่ยนตลอดและทำให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี