โรคในนก
การเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดย่อมต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับนก แม้จะเลี้ยงง่าย ต้องการพื้นที่ในการเลี้ยงน้อย แต่ก่อนที่จะเลี้ยงสัตว์ปีกแต่ละตัว ผู้เลี้ยงก็ควรจะศึกษาเกี่ยวกับโรคและการรักษาให้ดีเสียก่อน
หากพูดถึงเรื่องโรคร้ายของนก บอกเลยว่าสัตว์ปีกชนิดนี้มีความไวต่อการเจ็บป่วยมาก ไม่ว่าจะมาจากเชื้อโรคในอาหารสัตว์ ความเครียด เชื้อไวรัส เชื้อรา และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้เลี้ยงในการป้องกัน และหากนกของเรามีอาการ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที วันนี้เราจึงขอหยิบยกโรคร้ายที่มักเกิดขึ้นบ่อยกับนกมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ
- โรคเชื้อรา(Asperggillosis)
โรคนี้จะเกิดขึ้นกับนกของเราหากผู้เลี้ยงไม่ดูแลเรื่องสุขอนามัยของอาหารสัตว์ให้ดี เพราะเมื่ออาหารเหล่านี้เกิดการหมักหมม ก็จะส่งผลให้เกิดเชื้อรา และเมื่อนกกินอาหารเข้าไป เชื้อราก็จะเข้าไปเกาะอยู่ในหลอดลม ส่งผลให้นกหายใจติดขัด เซื่องซึม วิธีสังเกตคือจะได้ยินเสียงครืดคราดมาจากคอของนก หากไม่รีบรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
- โรคอหิวาต์(Fowl Cholera)
โรคร้ายนี้เป็นโรคที่มักพบในสัตว์ปีก และนกก็ไม่มีข้อยกเว้น อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าโรคอหิวาต์เป็นโรคติดต่อ มาจากมีตัวกลาง เช่น แมลงวันนำเชื้อโรคนี้มาจากมูลของสัตว์ที่ติดเชื้อ เมื่อแมลงวันเข้ามาตอมที่อาหารสัตว์หรือแม้แต่ภาชนะเชื้อก็สามารถแพร่กระจายได้แล้วสังเกตอาการได้จากมูลของนกที่เป็นสีขาวหรือน้ำตาลปนเขียวน้ำลายเหนียวเซื่องซึมและตายลงในที่สุด
- โรคหลอดลมอักเสบ(Bronchitis)
โรคต่อมานี้เกิดจากการขาดการดูแลเอาใจใส่กรงของนก กรงที่สกปรก ทำให้นกต้องสูดเอามลพิษเข้าไปตลอดเวลา อาการของนกที่แสดงออกมาคือ เซื่องซึม หายใจลำบาก อ้าปากหายใจตลอดเวลา หากพบว่านกมีความผิดปกติควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยยาอย่างถูกต้อง
- วัณโรคสัตว์ปีก (Avian tuberculosis)
อีกหนึ่งโรคร้ายที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดคือวัณโรค โรคนี้ก็มีสาเหตุมาจากการที่นกสัมผัสกับมูลของสัตว์ที่มีเชื้อ ทั้งทางตรง หรือทางอ้อมจากอาหารสัตว์ที่ถูกปนเปื้อน ความน่ากลัวของโรคนี้จะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันในตัวนก อาการที่แสดงออกมาคือ ท้องเสีย ผอมโซ หรือเป็นอัมพาต ส่งผลให้ตายได้ภายใน 2-3 เดือน
จะเห็นได้ว่านกเป็นสัตว์ปีกที่อ่อนไหวต่อสิ่งสกปรกอย่างมาก ดังนั้นการจะเลี้ยงนก ผู้เลี้ยงควรต้องดูแลเอาใจใส่ ทั้งกรง อาหาร และควรคอยสังเกตความผิดปกติของนกในทุกวัน หากพบไว สัตวแพทย์ก็จะสามารถรักษาให้อย่างทันท่วงที